|
|
|
|
|
|
หากกล่าวถึงชื่อ “รั้วใหญ่” ในปัจจุบัน หลายคนทราบดีว่าเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และแหล่งประวัติศาสตร์โบราณคดีหลายแห่งของจังหวัดสุพรรณบุรี อาทิ วัดแค คุ้มขุนแผน ต้นมะขามยักษ์ คูเมืองโบราณ เป็นต้น แต่หากมีผู้ตั้งคำถามว่าชื่อตำบลรั้วใหญ่นี้มีที่มาอย่างไร คำถามนี้ดูจะเป็นคำถามที่จะค้นหาคำตอบที่ชัดเจนได้ยากในปัจจุบัน |
|
อย่างไรก็ตาม คำตอบที่พอจะสันนิษฐานได้จากร่องรอยของ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และวรรณกรรมพื้นบ้านขุนช้างขุนแผน ที่ฉากในท้องเรื่องส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลรั้วใหญ่ น่าจะพอสันนิษฐานได้ว่า ชื่อ “รั้วใหญ่” มีที่มาจากหลักฐานสำคัญ ดังนี้ |
|
|
|
|
|
กำแพงเมืองสุพรรณ |
|
กำแพงเมืองสุพรรณบุรี ในเขตพื้นที่ของตำบลรั้วใหญ่ ตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ห่างจากริมแม่น้ำสุพรรณบุรีประมาณ 1 กิโลเมตร วัดระยะตามแนวเหนือใต้ประมาณ 3,600 เมตร ด้านเหนือใกล้หมู่บ้านวัดแค ด้านใต้อยู่กลางทุ่งนาตรงกับวัดมรกต (ร้าง) ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟสุพรรณบุรีในปัจจุบัน ลักษณะของกำแพงเมืองสุพรรณบุรีนี้ มีผู้สันนิษฐานว่ามีลักษณะเป็นเชิงเทิน มีเสาระเนียดปักบนเชิงเทิน จึงมีการสร้างจำลองรูปแบบของกำแพงเมืองสุพรรณบุรีขึ้นใหม่ ตามแบบที่สันนิษฐานนั้นในที่บริเวณคูเมืองโบราณริมถนนมาลัยแมน จึงอาจกล่าวได้ว่าจากร่องรอยของกำแพงเมืองโบราณ ที่มีลักษณะคล้ายรั้วขนาดใหญ่ดังกล่าว ชาวบ้านในสมัยก่อนอาจไม่ทราบถึงที่มาและความสำคัญ จึงเรียกกันว่า “รั้วใหญ่” และเป็นที่มาของชื่อตำบลรั้วใหญ่ในปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
|
วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน |
|
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เดิมเป็นนิทานพื้นบ้านของชาวสุพรรณบุรี ฉากของท้องเรื่องส่วนใหญ่ จึงเป็นสถานที่ที่ปรากฏอยู่จริงในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยเฉพาะในพื้นที่ของตำบลรั้วใหญ่ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของตัวละครสำคัญ คือขุนช้างและขุนแผน กล่าวกันว่า บ้านขุนช้างนั้นอยู่ใกล้ๆ กับวัดประตูสาร มีผู้ชี้ว่าน่าจะอยู่ตรงบริเวณโคกใหญ่ ระหว่างคลองวัดผึ้งกับแม่น้ำสุพรรณบุรี โคกใหญ่นี้แม้ในฤดูน้ำมาก น้ำท่วมทุกหนทุกแห่งแต่ก็ไม่ท่วมโคกนี้ จึงมีผู้เชื่อว่าบริเวณนี้เคยเป็นคอกช้าง ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ว่า ขุนศรีวิชัย บิดาขุนช้าง เป็นกองช้างกรมช้างนอก ขุนช้างคงจะเกิดที่โคกนี้ และมีศีรษะล้านมาแต่กำเนิด นางเทพทองผู้เป็นมารดาจึงไม่ชอบรูปโฉมของขุนช้างลูกชาย แต่กล่าวไว้ว่า เพราะบุญของลูกชายคนนี้ ทำให้ครอบครัวของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง ซึ่งมั่งคั่งอยู่แล้วมั่งคั่งยิ่งขึ้น ดังข้อความในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ว่า |
|
|
“บริบูรณ์พูนเกิดกว่าแต่ก่อน เพราะบุญของลูกอ่อนได้สร้างสรรค์
แต่เกิดมาเงินตราอุดมครัน ข้าหญิงชายนั้นมากมายไป” |
จากความเชื่อที่เชื่อกันว่าบริเวณโคกใหญ่ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตำบลรั้วใหญ่ ในปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของบ้านขุนช้างซึ่งเป็นผู้ที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยของเมืองสุพรรณในสมัยโบราณ บ้านของขุนช้างก็คงเป็นบ้านที่มีลักษณะเป็นบ้านใหญ่โตมีลักษณะโดดเด่น แตกต่างจากชาวบ้านทั่วไป รวมถึงรั้วบ้านที่ใหญ่และสังเกตได้ง่าย จนเป็นที่กล่าวขานพูดถึงกันในสมัยนั้น และกลายเป็นที่มาของชื่อตำบล “รั้วใหญ่” ในปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลรั้วใหญ่ ได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลรั้วใหญ่ เป็น เทศบาลตำบลรั้วใหญ่ ตามราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลรั้วใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ไปทางทิศเหนือประมาณ 5.6 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19.467 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,167 ไร่ |
|
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
เทศบาลตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ |
ติดต่อกับ |
เทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี |
|
|
อบต.พิหารแดง อ.เมืองสุพรรณบุรี |
 อบต.ดอนกำยาน
อ.เมืองสุพรรณบุรี |
หมู่ 2
หมู่ 1
หมู่ 5
หมู่ 4
หมู่ 6
หมู่ 3
|
ทม.สุพรรณบุรี
อ.สุพรรณบุรี
อบต.สนามชัย
 |
 ทต.บ้านโพธิ์
อ.สุพรรณบุรี |
ทต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองสุพรรณบุรี |
|
|
|
|